ข้อมูลทั่วไป
ประวัติความเป็นมา
30 พฤศจิกายน 542

0


ข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

1. สภาพทั่วไป

1.1 ลักษณะที่ตั้ง อาณาเขต และเขตการปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 113 ตอนพิเศษ 52 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2539 จึงทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้ามมีฐานะเป็นนิติบุคคล เมื่อประกาศดังกล่าวพ้นหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2540) อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ 34.60 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 33,728 ไร่ โดยมีอาณาเขต / เขตติดต่อ ดังนี้

ทิศเหนือ จด ตำบลพุนพินและตำบลศรีวิชัย อำเภอพุนพิน

ทิศใต้ จด ตำบลกรูด อำเภอพุนพิน

ทิศตะวันออก จด ตำบลเขาหัวควาย อำเภอพุนพิน และ ตำบลวัดประดู่ อำเภอเมือง

ทิศตะวันตก จด ตำบลท่าโรงช้างและตำบลหนองไทร อำเภอพุนพิน

ระยะห่างจากอำเภอ ประมาณ 4 กิโลเมตร

ระยะห่างจากจังหวัด ประมาณ 16 กิโลเมตร

1.2 ภูมิประเทศ

ตำบลท่าข้ามเป็นที่ตั้งของตัวอำเภอ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำตาปีและแม่น้ำพุมดวงเหมาะแก่การทำการเกษตร ปลูกพืชผักและทำสวน

1.3 จำนวนหมู่บ้าน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้ามมีหมู่บ้านเต็มทั้งหมู่บ้าน จำนวน 6 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ที่ 1, 3, 4, 5, 6 และ 7 ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านพุนพินใต้

หมู่ที่ 3 บ้านบางท่าข้าม

หมู่ที่ 4 บ้านนาศรีสงคราม (บ้านค้อกลาง : ตามบัญชีรายชื่อหมู่บ้านของกระทรวงมหาดไทย)

หมู่ที่ 5 บ้านท่าตลิ่งชัน

หมู่ที่ 6 บ้านท่าตะเภา

หมู่ที่ 7 บ้านคุ้งยาง

1.4 ท้องถิ่นอื่นในตำบล

เทศบาล 1 แห่ง คือ เทศบาลเมืองท่าข้าม (เดิมคือ หมู่ที่ 2 ตำบลท่าข้าม)

1.5 จำนวนประชากร

จำนวนประชากร คลิก!!

2. สภาพทางเศรษฐกิจ

2.1 อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยมีการใช้ประโยชน์ 3 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมด เช่น ทำสวน ปลูกผัก และรับจ้าง มีการปลูกปาล์ม ยางพารา มะพร้าว ข้าว เป็นต้น การเลี้ยงสัตว์ เช่น โค แพะ เป็ด ไก่ เป็นต้น อาชีพรับจ้าง เช่น ลูกจ้างบริษัท โรงงานอุตสาหกรรม และรับจ้างทั่วไป

2.2 หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล - ธนาคาร - แห่ง - โรงแรม 3 แห่ง - ปั๊มน้ำมัน 1 แห่ง - โรงงานอุตสาหกรรม 2 แห่ง

2.3 สภาพทางสังคม

2. 3.1 การศึกษา - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่ง

1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดท่าตลิ่งชัน

2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไทรงาม - โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน

3 แห่ง 1. โรงเรียนวัดท่าตลิ่งชัน 2. โรงเรียนบ้านท่าตะเภา 3. โรงเรียนบ้านไทรงาม

2.3.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา - วัด 4 แห่ง

1. วัดท่าตลิ่งชัน

2. วัดพุนพินใต้

3. วัดกุศลศรัทธาราม(วัดคุ้งยาง)

4. วัดดอนมะลิ 2.3.3 สาธารณสุข - โรงพยาบาลของรัฐ - แห่ง - คลินิกแพทย์ 1 แห่ง - สถานีอนามัยตำบล - แห่ง - ร้านขายยาแผนปัจจุบัน - แห่ง - อัตราการมีส้วมราดน้ำ 100 % 2. 3.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน - สถานีตำรวจ - แห่ง - สถานีดับเพลิง - แห่ง

2.4. การบริการพื้นฐาน

2.4.1 การคมนาคม ตำบลท่าข้าม มีถนนหลายสายสำหรับใช้ในการติดต่อคมนาคมระหว่างหมู่บ้านและระหว่างตำบลในส่วนของการคมนาคมทางน้ำก็มีลำคลองพุมดวงและแม่น้ำตาปีไหลผ่านซึ่งประชาชนก็ใช้การคมนาคมทางน้ำในการขนส่งสินค้าทางการเกษตรไปค้าขายและใช้ในการเดินทางติดต่อสื่อสารโดยทั่วไป

- ถนนคอนกรีต 11 สาย ระยะทาง 7,379 เมตร

- ถนนลาดยาง แบบแอสฟัลท์ติกคอนกรีต 12 สาย ระยะทาง 13,828 เมตร

- ถนนลาดยาง แบบแคปซีล 2 สาย ระยะทาง 1,300 เมตร

- ถนนหินคลุก 7 สาย ระยะทาง 9,606 เมตร

- ถนนลูกรัง 9 สาย ระยะทาง 14,278 เมตร 2.4.2 การโทรคมนาคม

- สถานีโทรคมนาคมอื่น ๆ 1 แห่ง

2.4.2 การไฟฟ้า มีการใช้ไฟฟ้าทุกครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 99 %

2.5 ข้อมูลอื่น ๆ

2.5.1 แหล่งน้ำธรรมชาติ

- แม่น้ำ จำนวน 2 สาย ได้แก่ แม่น้ำตาปี แม้น้ำพุมดวง

- คลอง จำนวน 4 สาย ได้แก่ คลองไทก๋ง คลองหนองหว้า คลองลำบางท่าข้าม

2.5.2 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

- บ่อน้ำตื้น 3 บ่อ

- บ่อบาดาล 4 บ่อ 2.5.3 ที่ดินสาธารณะประโยชน์ จำนวน 834 ไร่ 2.5.4 ที่ดินราชพัสดุ จำนวน 6 ไร่ 2.5.5 มวลชนจัดตั้ง

- อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) 1 รุ่น จำนวน 60 คน

- กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน จำนวน 63 คน

- กลุ่มเลี้ยงโค หมู่ที่ 1 จำนวน 11 คน

- กลุ่มเลี้ยงโค หมู่ที่ 5 จำนวน 27 คน

- กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ หมู่ที่ 3 จำนวน 60 คน

- สหกรณ์เครดิต ยู เนี่ยน หมู่ที่ 3 จำนวน 75 คน

- กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสุรากลั่น หมู่ที่ 1 จำนวน 15 คน

- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หมู่ที่ 3 จำนวน 98 คน

- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หมู่ที่ 4 จำนวน 75 คน

- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หมู่ที่ 7 จำนวน 24 คน

- คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน รวม 6 หมู่บ้าน จำนวน 136 คน

- กลุ่มเลี้ยงปลาบ่อ หมู่ที่ 4 จำนวน 9 คน

- กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ หมู่ที่ 7 จำนวน 138 คน

- กองทุน กข.กจ. จำนวน 24 คน

เอกสารแนบ